วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

สาเหตุโรคผมร่วงเป็นหย่อม Alopecia Areata และวิธีการรักษา



โรคอาการผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata)
ลักษณะการร่วงของโรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata)

       โรคอาการผมร่วงเป็นหย่อมๆ (Alopecia Areata) ลักษณะการร่วงของผมเป็นวงกลมเดียว หรือหลายวงกลม ทางการแพทย์ เรียกโรคชนิดนี้ว่า Alopecia Areata ส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงและผู้ชายวัย 20-40 ปี สาเหตุของมันเกิดจากความแปรปรวนของภูมิคุ้มกันในร่างกายไปทำลายรากผม และหยุดการเจริญของผมโดยไม่มีการอักเสบ
      ในทางการแพทย์ได้ระบุสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคนี้ คือ ความเครียด พันธุกรรม การพักผ่อนไม่เพียงพอ โดยคนส่วนมากคิดว่าเป็นการติด หรือการอักเสบของหนังศรีษะ แต่ที่จริงแล้วโรคนี้ไม่ใช่เลย และมันสามารถลุกลามเป็นจากวงเล็กกลายเป็นวงใหญ่ขึ้นจนเป็นเต็มศีรษะได้ ล้านหมดหัวนั่นเอง และอาจจะมีผลกับมีขนคิ้ว ขนตา หนวดเคราได้ ผู้หญิงและผู้ชาย







      วิธีการรักษาผมร่วงเป็นหย่อม ๆ คือ การกระตุ้นให้ผมขึ้นมาใหม่ หรือรักษาเองตามธรรมชาติ แต่ควรรักษาด้วยยาจะดีที่สุดและต้องใช้อย่างต่อเนื่องไปจนกว่าอาการผมร่วงจะดีขึ้น และถ้าหากหยุดยาก่อน ผมที่ขึ้นผมอาจร่วงหลุดไปได้เช่นกัน ส่วนยาที่ใช้ในการรักษา มีด้วยกัน 3 ชนิด ได้แก่

1. ยาสเตียรอยด์ (Corticosteroids)
  มีฤทธิ์ลดการอักเสบและกดการสร้างภูมิคุ้มกัน มีการใช้ทั้งในรูปของยาทาเฉพาะที่, ยากิน และยาฉีดเฉพาะที่เข้าใต้ผิวหนังบริเวณที่มีผมร่วง สเตียรอยด์ที่นิยมใช้ได้แก่ Clobetasol หรือ Fluocinonide และที่อยู่ในรูปของยาทาหรือ ยาฉีดเฉพาะที่ ในรูปของยาฉีดมักใช้เมื่อผมร่วงเป็นหย่อมเล็กที่บริเวณหนังศีรษะหรือร่วงที่ บริเวณคิ้วหรือหนวด การฉีดจะต้องฉีดทุก ๆ 3 – 6 สัปดาห์ ถ้าเป็นในระยะแรกอาจรักษา โดยการใช้ยาสเตียรอยด์บริเวณที่หลุดร่วง อย่างไรก็ตามการทายาเพียงอย่างเดียวอาจได้ผลไม่ดีนัก เนื่องจากการดูดซึมของยาผ่านบริเวณหนังศีรษะจนถึงระดับของรากผมอาจน้อยกว่า ปริมาณของยาที่ต้องการในการรักษา การรักษาจะเริ่มเห็นผลเมื่อใช้ยาต่อเนื่องไปเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 เดือน การใช้ยาสเตียรอยด์ในรูปของยากินได้ผลดีในการลดผมร่วง แต่อาจพบผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ เนื่องจากต้องใช้ยาเป็นระยะเวลานานจนกว่าโรคจะสงบเอง หากหยุดยาก่อนผมจะกลับมาร่วงใหม่ได้ ดังนั้นจึงนิยมใช้ในกรณีที่มีผมร่วงเป็นวงกว้าง หรือมีขนร่วงร่วมด้วย หรือใช้ในช่วงระยะแรกในการรักษา ร่วมกับยาทา

2. ยาทาไมนอกซิดิล 5% (Topical minoxidil 5% solution)
  ยาชนิดนี้สามารถกระตุ้นผมขึ้นใหม่ได้ ในช่วง 6-12 เดือนแรกของการรักษาอาการผมร่วงโดยใช้ยาน้ำ ไมน๊อกซิดิล สูตร 5% นั้น ให้ทาตัวยาวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน ภายหลังการสระผม และรอจนกว่าผมและหนังศีรษะแห้งดีแล้ว วิธีการทายาให้ทาตัวยาโดยตรงที่บริเวณ หนังศีรษะที่ต้องการจะปลูกผมให้ขึ้นมาใหม่ ได้ทั้ง หนวด เครา คิ้ว ยาชนิดนี้สามารถใช้ได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ การขึ้นใหม่ของผมจะเริ่มสังเกตเห็นได้เมื่อใช้ยาต่อเนื่องไประยะเวลาประมาณ 3 เดือน ถ้าผลออกมาผมยังขึ้นไม่เป็นที่หน้าพอใจก็ให้เพิ่ม % จากยาทาไมนอกซิดิล 5% เป็นยาทาไมนอกซิดิล 10 % ได้ 

3. แอนทราลิน (Anthralin) ลักษณะเป็นผงถ่านสังเคราะห์ มีฤทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงการทำงานของภูมิคุ้มกันที่บริเวณผิวหนัง วิธีใช้ทายาไว้บริเวณที่มีผมร่วง 20 – 60 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังส่วนศีรษะเกิดการระคายเคือง และผิวหนังบริเวณที่ทายามีสีคล้ำขึ้นได้ ในบางครั้งอาจต้องใช้หลายวิธีร่วมกันในการรักษาผมร่วงเป็นหย่อม ๆ
อ่านต่อไป >>

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

โรคทางจิต ทริโซทิโลมาเนีย (Trichotilomania)

          โรคทางจิต ทริโซทิโลมาเนีย (Trichotilomania) คือ โรคที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ เป็นปัญหาทางพฤติกรรมโดยจะชอบดึงผมตัวเองเป็นคนเก็บกด พูดน้อย เก็บความรู้สึก ไม่กล้าแสดงออก และไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ซึ่งโรคชนิดนี้จะปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก การดึงผมโดยไม่รู้สึกตัวจนผมแหว่งเป็นหย่อม ๆ วิธีรักษาควรปรึกษาแพทย์ทางจิต ทันที ไม่งั้นผมคงหมดศรีษะแน่
ทริโซทิโลมาเนีย (Trichotilomania)

อ่านต่อไป >>