วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การปลูกผมโดยการย้ายเซลล์


ประวัติความเป็นมาการย้ายเซลล์สร้างเส้นผม หรือการปลูกผม

               ในปี ค.ศ. 1959 นายแพทย์นอร์แมน โอเรนไทร์ ( Dr. Norman Orentreich) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนัง ได้ทำการทดลองย้ายเซลล์สร้างเส้นผมจากท้ายทอย ไปปลูกยังส่วนศีรษะล้านหรือผมบาง ผลปรากฎว่าเซลล์เส้นผมที่ย้ายไปปลูก สามารถสร้างเส้นผมได้เองเหมือนกับเส้นผมที่เคยมีอยู่เดิม นับเป็นก้าวแรกของวงการปลูกผม เลยทีเดียว
               ในตอนแรก  ทางการแพทย์นิยมใช้วิธีปลูกผมเป็นกอผมขนาดใหญ่ มีเส้นผมประมาณ  10 - 30 เส้น เมื่อผมขึ้นจึง เหมือนกอข้าว ดูไม่เป็นธรรมชาติ ในที่สุดก็ไม่ได้ความนิยม
               ในเวลาต่อมา ได้มีพัฒนาการให้กอผมมีขนาดเล็กลง เป็นการเหมือนเลียนแบบธรรมชาติ (Microscopic dissection)  ทางการแพทย์เรียกวิธีนี้ว่า  Follicular Unit Transplantation โดยใช้กล้องจุลทรรศน์  ในการแบ่งกอผม ประมาณ 1-4 เส้น ต่อกอ วิธีนี้จึงเป็นที่ยอมรับ และทำกันอย่างแพร่หลาย จนมาถึงปัจจุบันนี้
               การปลูกผมโดยการย้ายเซลล์ สามารถทำได้ในคลินิกที่มีเครื่องมือ เมื่อทำเสร็จแล้ว ผู้รับการรักษาก็สามารถกลับบ้านได้โดยไม่ต้องมีผ้าโพกหัว และสามารถสวมหมวกเพื่อปิดบังบริเวณที่ปลูกผมได้ หลังการปลูกผม 24-48 ชั่วโมง คุณก็สามารถสระผมได้ และสระได้ทุกวัน โดยไม่ต้องกังวลว่าแผลจะอักเสบหรือติดเชื้อเพราะโอกาสที่จะเกิดขึ้นมีไม่ถึง 1 ใน 1000 ราย     

วิธีการย้ายเซลล์สร้างเส้นผมหรือปลูกผม 


               แพทย์จะย้ายเซลล์สร้างเส้นผมจากบริเวณท้ายทอย มาปลูกยังบริเวณ ศีรษะล้าน หรือผมบาง คล้ายกับการย้ายต้นไม้ จัดเรียงทิศทางของเส้นผมที่ปลูก ให้เป็นระเบียบ ให้แลดูเป็นธรรมชาติ หลังปลูกผม ไปแล้ว 24-48 ชั่วโมง ก็สามารถสระผมเองได้ทุกวัน ผมที่ย้ายมาปลูกจะติดแน่นหลังปลูกประมาณ 1 สัปดาห์ หลังสัปดาห์ที่ 2 ผ่านไปแล้วผมที่ปลูกจะเริ่มทยอยร่วงออก จนเกือบหมด เนื่องจากเซลล์สร้างเส้นผม จะเข้าสู่ระยะพักการสร้างเส้นผม (พักฟื้น) รอประมาณ 3-4 เดือนผม ที่ปลูกก็จะงอกจากหนังศีรษะขึ้นมาใหม่ และจะงอกต่อไปเรื่อยๆ เหมือนเส้นผมปกติ แม้ผมจะร่วงไปแล้วมันก็จะงอกใหม่
อ่านต่อไป >>

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

สาเหตุโรคผมร่วงเป็นหย่อม Alopecia Areata และวิธีการรักษา



โรคอาการผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata)
ลักษณะการร่วงของโรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata)

       โรคอาการผมร่วงเป็นหย่อมๆ (Alopecia Areata) ลักษณะการร่วงของผมเป็นวงกลมเดียว หรือหลายวงกลม ทางการแพทย์ เรียกโรคชนิดนี้ว่า Alopecia Areata ส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงและผู้ชายวัย 20-40 ปี สาเหตุของมันเกิดจากความแปรปรวนของภูมิคุ้มกันในร่างกายไปทำลายรากผม และหยุดการเจริญของผมโดยไม่มีการอักเสบ
      ในทางการแพทย์ได้ระบุสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคนี้ คือ ความเครียด พันธุกรรม การพักผ่อนไม่เพียงพอ โดยคนส่วนมากคิดว่าเป็นการติด หรือการอักเสบของหนังศรีษะ แต่ที่จริงแล้วโรคนี้ไม่ใช่เลย และมันสามารถลุกลามเป็นจากวงเล็กกลายเป็นวงใหญ่ขึ้นจนเป็นเต็มศีรษะได้ ล้านหมดหัวนั่นเอง และอาจจะมีผลกับมีขนคิ้ว ขนตา หนวดเคราได้ ผู้หญิงและผู้ชาย







      วิธีการรักษาผมร่วงเป็นหย่อม ๆ คือ การกระตุ้นให้ผมขึ้นมาใหม่ หรือรักษาเองตามธรรมชาติ แต่ควรรักษาด้วยยาจะดีที่สุดและต้องใช้อย่างต่อเนื่องไปจนกว่าอาการผมร่วงจะดีขึ้น และถ้าหากหยุดยาก่อน ผมที่ขึ้นผมอาจร่วงหลุดไปได้เช่นกัน ส่วนยาที่ใช้ในการรักษา มีด้วยกัน 3 ชนิด ได้แก่

1. ยาสเตียรอยด์ (Corticosteroids)
  มีฤทธิ์ลดการอักเสบและกดการสร้างภูมิคุ้มกัน มีการใช้ทั้งในรูปของยาทาเฉพาะที่, ยากิน และยาฉีดเฉพาะที่เข้าใต้ผิวหนังบริเวณที่มีผมร่วง สเตียรอยด์ที่นิยมใช้ได้แก่ Clobetasol หรือ Fluocinonide และที่อยู่ในรูปของยาทาหรือ ยาฉีดเฉพาะที่ ในรูปของยาฉีดมักใช้เมื่อผมร่วงเป็นหย่อมเล็กที่บริเวณหนังศีรษะหรือร่วงที่ บริเวณคิ้วหรือหนวด การฉีดจะต้องฉีดทุก ๆ 3 – 6 สัปดาห์ ถ้าเป็นในระยะแรกอาจรักษา โดยการใช้ยาสเตียรอยด์บริเวณที่หลุดร่วง อย่างไรก็ตามการทายาเพียงอย่างเดียวอาจได้ผลไม่ดีนัก เนื่องจากการดูดซึมของยาผ่านบริเวณหนังศีรษะจนถึงระดับของรากผมอาจน้อยกว่า ปริมาณของยาที่ต้องการในการรักษา การรักษาจะเริ่มเห็นผลเมื่อใช้ยาต่อเนื่องไปเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 เดือน การใช้ยาสเตียรอยด์ในรูปของยากินได้ผลดีในการลดผมร่วง แต่อาจพบผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ เนื่องจากต้องใช้ยาเป็นระยะเวลานานจนกว่าโรคจะสงบเอง หากหยุดยาก่อนผมจะกลับมาร่วงใหม่ได้ ดังนั้นจึงนิยมใช้ในกรณีที่มีผมร่วงเป็นวงกว้าง หรือมีขนร่วงร่วมด้วย หรือใช้ในช่วงระยะแรกในการรักษา ร่วมกับยาทา

2. ยาทาไมนอกซิดิล 5% (Topical minoxidil 5% solution)
  ยาชนิดนี้สามารถกระตุ้นผมขึ้นใหม่ได้ ในช่วง 6-12 เดือนแรกของการรักษาอาการผมร่วงโดยใช้ยาน้ำ ไมน๊อกซิดิล สูตร 5% นั้น ให้ทาตัวยาวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน ภายหลังการสระผม และรอจนกว่าผมและหนังศีรษะแห้งดีแล้ว วิธีการทายาให้ทาตัวยาโดยตรงที่บริเวณ หนังศีรษะที่ต้องการจะปลูกผมให้ขึ้นมาใหม่ ได้ทั้ง หนวด เครา คิ้ว ยาชนิดนี้สามารถใช้ได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ การขึ้นใหม่ของผมจะเริ่มสังเกตเห็นได้เมื่อใช้ยาต่อเนื่องไประยะเวลาประมาณ 3 เดือน ถ้าผลออกมาผมยังขึ้นไม่เป็นที่หน้าพอใจก็ให้เพิ่ม % จากยาทาไมนอกซิดิล 5% เป็นยาทาไมนอกซิดิล 10 % ได้ 

3. แอนทราลิน (Anthralin) ลักษณะเป็นผงถ่านสังเคราะห์ มีฤทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงการทำงานของภูมิคุ้มกันที่บริเวณผิวหนัง วิธีใช้ทายาไว้บริเวณที่มีผมร่วง 20 – 60 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังส่วนศีรษะเกิดการระคายเคือง และผิวหนังบริเวณที่ทายามีสีคล้ำขึ้นได้ ในบางครั้งอาจต้องใช้หลายวิธีร่วมกันในการรักษาผมร่วงเป็นหย่อม ๆ
อ่านต่อไป >>

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

โรคทางจิต ทริโซทิโลมาเนีย (Trichotilomania)

          โรคทางจิต ทริโซทิโลมาเนีย (Trichotilomania) คือ โรคที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ เป็นปัญหาทางพฤติกรรมโดยจะชอบดึงผมตัวเองเป็นคนเก็บกด พูดน้อย เก็บความรู้สึก ไม่กล้าแสดงออก และไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ซึ่งโรคชนิดนี้จะปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก การดึงผมโดยไม่รู้สึกตัวจนผมแหว่งเป็นหย่อม ๆ วิธีรักษาควรปรึกษาแพทย์ทางจิต ทันที ไม่งั้นผมคงหมดศรีษะแน่
ทริโซทิโลมาเนีย (Trichotilomania)

อ่านต่อไป >>

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แนวทางรักษาป้องกันผมร่วงผมบางจากกรรมพันธุ์


แนวทางดูแลรักษาป้องกันผมร่วงและผมบาง

             นี้เป็นของผู้เขียนเองครับ จากบทความเดิมที่ผมกล่าวไว้แล้ว สาเหตุของผมร่วงและผมบาง ส่วนตัวผู้เขียนเองมีปัญหาเพราะสาเหตุจากกรรมพันธุ์ รู้ได้จากพ่อและส่วนที่โซนมีความมันมากๆ มาเข้าขั้นตอนกันเลยนะครับ

             เริ่มแรกผมต้องดูระดับความมันของหนังศรีษะของตัวผมเอง ใน 1 วัน ผม สระผม 2 ครั้ง คือสระในตอนเช้าและตอนเย็น จำนวนครั้งที่สระขึ้นอยู่กับความมันของหนังศรีษะของแต่ละคน ถ้าปล่อยให้ผมมันไขมันจะไปอุดที่รากผมได้แล้วผมจะไม่ขึ้นหรือขึ้นเส้นเล็ก (เป็นคนผมมันต้องทำใจนะครับจะสระผมเว้นวันแบบคนทั่วไปไม่ได้) เหตุนี้จึงเห็นคนที่หัวล้านหมดทั้งหัวมีความมันเงามาก และไม่มีรูให้ผมขึ้นมาเลย นั้นแสดงว่ารูผมมันปิดตายไปแล้ว  หมดทางดุแลรักษาด้วยตนเอง ปรึกษาหมออย่างเดียว ในส่วนของแชมพูก็ควรเป็นแบบอ่อนๆ หรือแชมพูที่มีส่วนผสมธรรมชาติที่เหมาะสำหรับคนผมบางอย่างเรา

             ต่อมาหลังจากสระผมเสร็จแล้ว เป่าผมให้แห้งแล้วใช้ชโลมผมด้วยแฮร์โทนิค ผมเน้นสมุนไพร มันช่วยบำรุงรากผม สร้างเส้นผมใหม่ แล้วยังช่วยให้เลือดหมุนเวียนไปเลี้ยงเส้นผม ชโลมเสร็จแล้วก็นวดคลึงเบาๆเป็นการกระตุ้น เป่าให้แห้ง

             แล้ววิธีรักษาป้องกันผมร่วงผมบางที่ดีและยั่งยืนนั้น คือ ตัวคุณเองต้องสร้างการพฤติกรรมที่มีผลดีต่อเส้นผมด้วยวิธีง่ายๆดังนี้ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนแต่หัวค่ำจะช่วยสร้างออร์โมนเพศ ไม่สูบบุหรี่ ออกกำลังกายเป้นประจำเพื่อให้เลือดสูบฉีดไปเลี้ยงเส้นผมบนศรีษะ 

            ขั้นตอนสุดท้าย ตรวจสอบดูความเปลี่ยนแปลงการร่วงของเส้นผม โดยหลังจากสระผมแล้วล้างน้ำเปล่าให้นำผ้าขาวบางมากรองไว้ แล้วนับจำนวนเส้นผมที่หลุดร่วงออกมาดูการเปลี่ยนแปลง ถ้าร่วงประมาณ 5 - 10 ก็อยู่ในเกณฑ์ที่พอดีหลังจากผ่านไป 1 เดือน ก็จะเห็นผลว่าปริมาณผมที่ร่วงลดลงครับ

            วิธีที่ผมกล่าวมาข้างต้นนี้ก็ไม่ได้ทำให้ผมดกหนาขึ้นเหมือนก่อนอย่างเด่นชัด แต่เป็นการรักษาบำรุงมันไว้ กันไว้ดีกว่าแก้เพราะถ้าร่วงหมดจะดูไม่หล่อไม่สวยแล้ว การรักษากับคลีนิคคนรู้จักไปมาก็เห้นผลดี แต่ต้องกินยา ทายาไปเรื่อยๆ ไม่งั้นถ้าเลิกก็กลับมาร่วงอีก สู้เราดูแลผมของเราเองอย่างยั่งยืนดีกว่าครับ





อ่านต่อไป >>

วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วิธีดูแลไม่ให้หนังศรีษะมันหรือผมมันสาเหตุของผมบาง

      อย่างที่ผมได้กล่าวไว้แล้วในบทความ สาเหตุของการผมบางผมร่วง จะมีสาเหตุหลักคือ เกิดจากความมันของหนังศรีษะ สร้างไขมันไปอุดตันเส้นผมทำให้ผมอ่อนแอและหลุดร่วงง่ายจนผมบางลง วิธีที่ดีที่สุดในการกำจัดความมันคือการสระผมนั้นเองครับ


สระผมลดความมันของศรีษะ


      การสระผมเพื่อลดความมันสาเหตุของผมบาง สำหรับคนที่ผมมัน ควรสระผมทุกวัน วันละ 1 - 2 ครั้ง โดยให้พิจารณาตัวเราเองว่าเราสระผมตอนเช้าแล้ว ผมเราจะมีความมันอีกทีตอนไหน บางคนสระ 3 ครั้งต่อ 1 วันก็มี ซึ่งผู้เขียนเองก็สระผม 2 ครั้งต่อ 1 วัน โดยต้องใช้แชมพูชนิดอ่อน แชมพูสำหรับคนผมมัน แชมพูสำหรับหนังศีรษะแห้ง หรือแชมพูสำหรับเด็ก
      วิธีสระควรเน้นแชมพูที่บริเวณผม ไม่ใช่บริเวณหนังศีรษะเพราะจะทำให้หนังศีรษะศูนย์เสียความชุมชื้นและหนังศรีษะแห้งได้ (ก็จะเกิดปัญหารังแคตามมา) ล้างผมด้วยน้ำเย็น หรือน้ำอุ่นเล็กน้อยมาก ๆ จนผมสะอาดดี เนื่องจากแชมพูที่ตกค้างบริเวณหนังศีรษะ จะทำให้หนังศีรษะแห้งมากได้

      ใช้ทรีทเมนท์น้ำมันร้อน (hot oil treatment) นวดบริเวณหนังศีรษะๆ แล้วล้างออก ไม่ให้เหลือตกค้างที่บริเวณเส้นผม 

      สำหรับคนที่ไว้ผมยาวอาจไม่จำเป็นต้องใช้ครีมนวดผม (conditioner) หรืออาจใช้ครีมนวดผมเฉพาะบริเวณปลายผมเท่านั้น 

      ถ้าผมมันมาก ๆ อาจผสมน้ำส้มสายชู 1 ส่วนในน้ำ 4 ส่วน ใช้ล้างผมครั้งสุดท้าย หรืออาจใช้น้ำมะนาวผสมน้ำ แทนน้ำส้มสายชูในการล้างผม ทำให้ได้ผมที่พึงพอใจมากกว่าในการลดผมมัน 

      สุดท้ายหลังจากสระผมเสร็จ ไม่ควรหวีผมมากเกินไป เนื่องจากการหวีผมบ่อยมากเกินไปจะกระตุ้นต่อมไขมันผลิตน้ำมันหนังศีรษะออกมามาก
อ่านต่อไป >>

ส่วนผสมแชมพูที่มีจากสารธรรมชาติช่วยผมบางได้

      แชมพูที่มีส่วนผสมจากสารธรรมชาติที่เหมาะกับคนผมบางผมร่วงซึ่งจะช่วยในการลดความมันและฟื้นฟูสภาพเส้นผม มีดังนี้

น้ำมันโจโจบา (Jojoba oil)
น้ำมันโจโจบา (Jojoba oil)


1. น้ำมันโจโจบา (Jojoba oil) มีลักษณะเป็นของเหลวและแว๊กซ์ เนื่องจากมีส่วนประกอบที่ใช้ในการผลิตน้ำมันเคลือบผม จะช่วยลดความแห้งของผมจากการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อลดความมันของผมที่แรงเกินไปได้ สามารถบำรุงผม และป้องกันผมร่วงได้


น้ำมันโรสแมรี่ (Rosemary oil)
น้ำมันโรสแมรี่ (Rosemary oil)

2. น้ำมันโรสแมรี่ (Rosemary oil) มีสารทำความสะอาดหนังศีรษะเป้นอย่างดี ช่วยในการกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตมีผลในการกระตุ้นรากผม ดูแลเส้นผมให้ดำเงางาม ช่วยขจัดรังแคบนหนังศรีษ และช่วยให้เส้นผมนุ่มเงางาม

น้ำมันทีทรี (Tea tree oil)
น้ำมันทีทรี (Tea tree oil)


3. น้ำมันทีทรี (Tea tree oil) น้ำชาที่เราดื่มกันนอกจากจะช่วยดับความกระหายแล้ว มันยังมีสรรพคุณที่อ่อนบางและช่วยกำจัดความมันที่มากเกินไปบนเส้นผม ช่วยกำจัดรังแค และแบคทีเรียบนหนังศรีษะได้


โหระพา Sage


4. โหระพา (Sage) นอกจากจะใช้ประกอบอาหารแล้ว โหระพาที่ีอยู่ทั่วไป ยังจะช่วยในการละลายน้ำมันจากต่อมไขมันที่เกาะอยู่ที่เส้นผม และช่วยทำให้เส้นผมหนาขึ้น


ยูคาลิปตัส (Eucalyptns)


5. ยูคาลิปตัส (Eucalyptns) ช่วยให้หนังศีรษะกลับมาผลิตน้ำมันได้อย่างสมดุล โดยควบคุมการผลิตจากต่อมไขมัน (Sebum) ลดและกำจักการอักเสบของหนังศีรษะ 


คาโมมายล์ (Chamomile)

6. คาโมมายล์ (Chamomile) ช่วยทำให้ผมเป็นประกายและแข็งแรง แต่ไม่แนะนำให้ใช้ในผมที่ทำสี เนื่องจากจะทำให้สีผมอ่อนลง โดยเฉพาะผมที่ทำไฮไลท์ (highlights) อาจทำให้สีผมบริเวณไฮไลท์อ่อนลงเป็นสีด่างๆ

นอกจากนี้ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถลดความมันของเส้นผมได้ ได้แก่ อโลเวรา (aloe) , ไข่ขาว , เมนทอล (menthol), ซอบิทอล (sorbitol), kaolin - ดินขาว, กรดผลไม้ (citric acid), แป้ง (starch)
อ่านต่อไป >>

สาเหตุหลักของผมร่วงผมบาง

      ก่อนทีเราจะดูแลรักษาหรือแก้ไขปัญหาผมบาง เราควรทราบสาเหตุของปัญหาผมร่วงผมบางของเราก่อนซึ่งมีหลายสาเหตุด้วยกัน

สาเหตุของผมร่วงผมบาง


      1. ผมบางเกิดจากกรรมพันธุ์ เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดถึง 90 เปอร์เซนต์ ของผมบาง ผมร่วง มันเป็นมรดกตกทอดจาก พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และพรรพบุรุษ ของเราเอง เหตุที่ทำให้ผมบางจากกรรมพันธุ์ เพราะต่อมไขมันที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมนเพศชายผิดปกติ มันมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ผลิตไขมันออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้เส้นผมมัน ผลที่เกิดจากกรรมพันธุ์นี้ เส้นผมจะเริ่มมีขนาดเล็กลง เพราะเส้นผมที่กำลังจะขึ้นจะโดนเบียดจากต่อมไขมัน ทำให้เส้นผมมีเส้นเล็ก หรือ ที่เรียกว่า ผมบาง แล้วร่วงง่าย เส้นผมยังไม่ทันหนาปกติ ก็หลุดออก เมื่อผมร่วงมากๆ ผมก็จะน้อยลงเรื่อยๆ เพราะเส้นผมไม่สามารถงอกขึ้นมาใหม่ได้ ถ้าปล่อยไว้เป็นเวลาหลายปี รูขุมขนจะปิดสนิท แล้วจะไม่สามารถปลูกผมได้อีกเลย เราจึงควรดูแลรักษาไม่ให้หนังศรีษะหรือผมมันบ่อยๆ

      วิธีสังเกตคนผมบางเกิดจากกรรมพันธุ์ ได้จากความมันของใบหน้ามีความมันโดยเฉพาะส่วนทีโซนของใบหน้ามากต้องล้างหน้าอยู่เป็นประจำ ส่วนคนที่ไม่มีปัญหาผมบางจากกรรมพันธุ์นี้ ผมจะไม่มีความมัน 2-3 วัน จะสระผมเพียงแค่ 1 ครั้ง หนังศรีษะมีกลิ่นผมมัน หรือบางคนเรียกว่ากลิ่นเหม็นเขียว

      2. ผมบางเกิดจากการใช้แชมพูที่มีฤทธิ์รุนแรงมากเกินไป เช่น แชมพูขจัดรังแคที่มีฤทธิ์สูง โดยมันจะเข้าไปทำลายสภาพหนังศีรษะ ซึ่งจะมีผลทำให้ผมบางได้ ดังนั้นเราจึงควรเลือกแชมพูที่เหมาะกับสภาพหนังศรีษะของเรา หรือ การใช้น้ำกระด้าง น้ำกร่อย มีค่าความเป็น ด่าง กรดอ่อนๆ สระผมเป็นประจำ ก็อาจทำให้ผมบางลงได้เช่นกัน ยิ่งถ้าเป็นคนผมบางเพราะเกิดจากกรรมพันธุ์แล้ว ผมก็จะหลุดร่วงได้ง่าย 

      3. ผมบางเกิดจากเกิดจากการโดนแสงแดดแรงๆมากเกินไป  รังสีอุลตร้าไวโอเรต หรือแสงแดด มีประโยชน์กับเราทำให้สามารถได้รับวิตามินดีในช่วงเวลาเช้าถึง 9 โมงเช้าเท่านั้น หลังจากเวลา 9 โมงเช้า แสงแดดถึงว่าเป็นสิ่งอันตราย เราควรป้องกันจากแสงแดดที่รุนแรง โดยหลีกเลี่ยงแสงแดด หรือถ้าจำเป็นต้องอยู่กลางแดดก็ใช้ร่มกันแดด เพราะมันจะมีผลทำลายผิวหนังศีรษะของเรา ซึ่งทำให้ผมบางได้ 

      4. ผมบางเกิดจากภาวะความเครียดบ่อยๆ เมื่อคนเราเกิดความเครียดมากเข้า มันจะไปกระตุ้นทำให้ต่อมไขมันทำงานหนักกว่าปกติ หนังศรีษะก็จะมัน แล้วนำมาซึ่งผมบาง ผมร่วง คล้ายกับสาเหตุจากกรรมพันธุ์ที่กล่าวไว้ข้างต้น ถ้าเราพบว่าหนังศรีษะหรือผมมันเพราะความเครียด เราควรสระผมเป็นประจำ เพื่อลดความมันของหนังศรีษะ ส่วนลักษณะผมบางผมร่วงจากความเคลียดอีกอย่างจะลักษณะ ผมร่วงเป็นหย่อมๆ Alopecia Areata เป็นกลมขนาดเหรียญบาทหรือไข่ไก่ โดยควรรักษากับแพทย์ผิวหนังโดยด่วนไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานเพราะวงมันอาจจะขยายจนผมร่วงทั้งศรีษะได้

      5. ผมบางเกิดจากการใช้สารเคมี เราใช้สารเคมีกับผม ไม่ว่าจะเป็นการ กลัดผม โกรกผม ย้อมผม ไดร์ผม ถือว่าเป็นวิิธีการทำร้ายรากผมโดยตรงและทำให้ผมร่วงผมบางลงได้ อันเนื่องมาจากสภาพหนังศีรษะไม่แข็งแรง 

      6. ผมบางเกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายขาดวิตามินและฮอร์โมนเพศชายที่สำคัญต่อเส้นผม เพราะร่างกายเราจะสร้างวิตามินและฮอร์โมนเพศในช่วงที่เรานอนหลับตอนกลางคืนเท่านั้น ซึ่งวิตามินและฮอร์โมนเพศ จะช่วยสร้างเส้นผมบนศรีษะของเราให้ขึ้นใหม่ และผลจากการพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้เลือดหมุนเวียนทั่วหนังศีรษะไม่เต็มที่ส่งผลต่อเส้นผมบนศรีษะของเราด้วย

      7. ผมบางเกิดจากการได้รับยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคธัยรอยด์เป็นพิษ ยากันชัก ยาลดการแข็งตัวของเลือด ยาโรคหัวใจบางชนิด ยารักษาโรคมะเร็ง วิตามินเอขนาดสูง โรคไขข้อ
ความดันโลหิตสูง
เป็นต้น 
  
      8. ผมบางเกิดจากพฤติกรรมการคุ้ยแคะแกะเกา อาจเป็นโรคทางจิต ที่ทางการแพทย์เรียกว่า ทริโซทิโลมาเนีย (Trichotilomania) ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง ทำบ่อยๆหรือทำเป็นประจำ จะทำให้เกิดภาวะผมบางลงได้ ผมบาง จากปัญหาผมร่วงเรื้อรังเป็นเวลานาน จนทำให้ผมที่ดกดำ ลดปริมาณลงเรื่อยๆ จนเข้าสู่ภาวะผมบางในที่สุด

        9. ผมบางเกิดจากการให้กำเนิดบุตร หลังจากการตั้งครรภ์ ผู้หญิงหลายคนอาจจะมีอาการผมร่วง และหลังจากการคลอดบุตรประมาณ 2-3 เดือนก็อาจจะมีผมร่วงจำนวนมากในขณะที่หวีผม อาการแบบนี้อาจจะเป็นอยู่ได้นานถึง 6 เดือน และหลังจากนั้นก็มักจะหายไปทั้งหมด อาการผมร่วงนี้เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายเพื่อปรับตัวเอง ให้เข้าสู่สภาวะปกติหลังการคลอดบุตรนั่นเอง

     10. ผมบางเกิดจากยาคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิดสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการผมร่วงก่อนวัยอันควรในสุภาพสตรีได้ ดังนั้นถ้าสาวๆ รู้ว่าในหมู่ญาติผู้ใหญ่ของตัวเองมีแนวโน้มที่จะมีอาการผมร่วงมากเมื่ออายุ มากขึ้น จะต้องบอกเรื่องนี้กับแพทย์ก่อนที่จะรับประทานยาคุมกำเนิด เมื่อหยุดยาอาจจะมีอาการผมร่วงในอีก 2-3 เดือนต่อมา และมักจะหายไปหลังจาก 6 เดือน อย่างไรก็ตามอาจจะมีบางกรณีที่เส้นผมไม่ยอมงอกกลับมาอีกได้ จึงเป็นสิ่งที่จะต้องระวังในการใช้ยาประเภทนี้เหมือนกัน

     11. ผมบางเกิดจากโรคต่างๆ รากผมของคนเรานั้นไวต่อความผิดปกติหรือความไม่สมดุลในร่างกายมาก ส่วนมากแล้วอาการผมร่วงเนื่องจากโรคหรือความเจ็บป่วยมักจะหายได้เองหลังจาก ที่หายจากโรคนั้นๆ แล้วและร่างกายกลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม มาดูโรคต่างๆ เหล่านี้กันเช่น
อาการช็อตทางร่างกายหรือจิตใจ หลายคนที่มีประสบการณ์ผมจะมีขนาดผอมบางหลายเดือนหลังจากที่ช็อกทางร่างกายหรือจิตใจ ตัวอย่าง ได้แก่ การสูญเสียน้ำหนักฉับพลันหรือมากเกินไปไข้สูงหรือการเสียชีวิตในครอบครัว การติดเชื้อที่หนังศีรษะ การติดเชื้อเช่นกลาก สามารถบุกรุกผมและผิวของหนังศีรษะของคุณที่นำไปสู่​​การสูญเสียเส้นผม
    
อ่านต่อไป >>